วันพุธที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2555

PC-Station 1 เครื่องต่อได้ 6 เครื่อง

PC-Station & BUDDY คืออะไร
 PC- Station  และ Buddy  เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยให้คอมพิวเตอร์ 1  เครื่องสามารถใช้งานได้พร้อมกันหลาย ๆ  คน   โดยที่คุณไม่ต้องซื้อคอมพิวเตอร์เครื่องใหม่ให้สิ้นเปลืองอีกต่อไป   ซึ่ง ที่คอมพิวเตอร์ 1   เครื่องสามารถใช้งานได้พร้อมกันจำนวน 10  คน ภายใต้ระบบปฎิบัติการของWindows  XP  และ  30  คนภายใต้การทำงานของ  Windows Server   โดยที่แต่ละคนสามารถใช้งานโปรแกรมเช่น   MS Office ( Word ,Excel ), Email,  Internet    หรือแม้กระทั้งการใช้งานเครื่อง Printer , Scaner ได้พร้อมกันอีกด้วย




 ระบบ Diskless





รู้จักกับระบบ Diskless

สวัสดีครับ สำหรับบทความแรกประเดิมบล๊อก วันนี้จะมาแนะนำให้รู้จักกับระบบ Diskless หลายๆ ท่านอาจจะเคยได้ยินคำนี้ หรืออาจจะรู้จักกับระบบนี้ แต่ไม่รู้ว่าเขาเรียกว่าระบบอะไร วันนี้เราจะมาทำคววามรู้จักกันครับ

ลองนึกถึงตัวอย่างร้านเกมส์ง่ายๆ นะครับ จะได้เห็นภาพชัดๆ และรู้จักระบบ diskless สมมติว่า ผมเปิดร้านเพื่อให้บริการอินเตอร์เนต หรือเกมส์ มีเครื่องซัก 20 เครื่องไว้ให้บริการลูกค้า ทุกเครื่อง มีฮาร์ดดิส ถ้าผมต้องการที่จะติดตั้ง os หรือ โปรแกรม หรือ เกมส์ต่างๆ ผมก็ต้องทำการติดตั้งให้เครื่องทั้ง 20 เครื่อง ถูกต้องมั้ยครับ ? และถ้าสมมติว่าวันดีคืนดี ไฟตก ไฟดับ ฮาร์ดดิสเครื่องไดเครื่องหนึ่งเสีย ผมก็ต้องทำการเอาฮาร์ดดิสไปเคลม ต้องมีค่าใช้จ่ายในการเดินทาง พอได้ฮาร์ดดิสลูกใหม่มา ผมก็ต้องมา set up โปรแกรมลงไปใหม่ ไม่งั้นก็ ghost ลงไป หรืออีกกรณี มีเด็กๆหรือลูกค้า โหลดไฟล์ที่ละเมิดลิขสิทธิ์อย่าง MP3 มาไว้ในร้านเรา แล้วมีเจ้าของลิขสิทธิ์มาตรวจเจอ คิดดูครับว่าอะไรจะเกิดขึ้น หรืออีกกรณี สมมติว่า ผมมีเกมส์ไว้บริการลูกค้าอยู่ 3 เกมส์ A B C การที่จะอัปเดทเกมส์ออนไลน์ ต้องเปิดเกมส์ขึ้นมา คือพูดง่ายๆ ถ้ามีลูกมาเล่นเกมส์ A ที่เครื่อง 1 ทุกวัน เกมส์ A ที่เครื่อง 1 ก็จะถูกอัปเดท แต่ถ้าวันใหน ลูกค้าคนนั้นย้ายไปเล่นเครื่องอื่น ซึ้งเครื่องนั้นไม่เคยเปิดเกมส์นั้นเล่นเลย โอวว ไม่อยากจะคิดภาพที่ลูกค้าต้องเสียอารมณ์เพราะต้องนั่งรอเกมส์ให้มันอัปเดทจนเสร็จ ซึ่งถ้าผมจะอัปเดททุกเกมส์ ผมมี 3 เกมส์ 20 เครื่อง ผมต้องเปิดโปรแกรมซ้ำ ๆ ถึง 60 ครั้ง เพื่อที่ให้เกมส์หรือโปรแกรมของทุกเครื่องมีความใหม่

คราวนี้มาถึงพระเอกของเราระบบ diskless การทำงานคือ ผมยอมเสียสละ คอมพิวเตอร์เปิดทิ้งไว้เฉยๆ ซักเครื่องหนึ่ง ซึ้งเรียกว่าเครื่อง server ซึ้งเครื่องนี้จะเก็บข้อมูลทุกอย่างเช่น เกมส์ ,โปรแกรมต่างๆ ไว้ให้ลูกค้าใช้งาน แล้วเปิดให้เครื่องลูก ทั้ง 20 เครื่องมาขอใช้ข้อมูลร่วมกัน หรือพูดง่ายๆ ว่า เครื่องลูกทั้ง 20 เครื่องไม่มี ฮาร์ดดิส (ประหยัดเงินค่าฮาร์ดดิสเพื่อไปซื้อเครื่อง server) คราวนี้เห็นข้อแตกต่างหรือยังครับ แทนที่ผมจะต้องลงโปรแกรมทั้ง 20 เครื่อง ผมก็ลงที่ server ครั้งเดียว ถ้าผมจะอัปเดทโปรแกรมก็อัปที่ server ครั้งเดียว ไฟตกไฟดับก็ไม่มีปัญหา เครื่องลูกจะดับก็ช่าง ผมมีเครื่องสำรองไฟให้ server เครื่องเดียวพอ เพราะข้อมูลทุกอย่างอยู่ที่ server ป้องกันการติดไวรัส หรือละเมิดลิขสิทธิ์ หรือพวกชอบลองวิชาไปแก้ไขค่า config ต่างๆ ของเครื่อง เพราะเพียงแค่ restart หรือปิดเครื่องแล้วเปิดใหม่ทุกอย่างก็จะกลับมาเหมือนเดิม

สรุปสั้นๆ นะครับ

ระบบ diskless คืออะไร ?
 ในปัจจุบัน ร้านเน็ต ร้านเกมส์ หรือโรงเรียน หันมาใช้ระบบ Diskless กันมากขึ้น โดย ส่วนใหญ่จะเป็นร้านเกมส์จะมุ่ง เน้นประโยชน์ในเรื่องของความสะดวก ในเรื่องการ Update Patch เกมส์ ซึ่งแต่เดิมต้อง update ทุกเครื่อง แต่หลังจากมี ระบบ Diskless เข้ามาใช้ การ Update Patch เกมส์ ก็เป็นเพียงการ Update ตามปกติเพียงแค่เครื่องเดียว โดยในการUpdate หรือลง software ใม่ต้องลง ทีละเครื่องอีกต่อไป

ระบบDiskless ดีอย่างไร ?

- การดูแลรักษาระบบทำได้ง่ายกว่าเดิม เร็วกว่าเดิม

- ใช้งานได้ปกติเหมือนเครื่องมี HDD. ทุกประการ

- ประหยัด HDD เพราะมี HDD แค่เครื่อง server เครื่องเดียว

- สั่งเปิด ปิด รีสตาร์ท รีโมทควบคุมเครื่อง client ได้ จากเซิฟเวอร์

- Diskless boot เร็วกว่า Hard Disk เพราะมีการใช้งานจากCache File

- มีระบบ undo กลับ กรณีระบบมีปัญหา

- ใช้เครื่องเดิมๆที่มีอยู่ไม่ต้องซื้อเครื่องใหม่

- ดูแลง่าย ไม่ติด virus ไม่กลัวผู้ใช้ลงโปรแกรมมั่วๆ

- ลงโปรแกรมแค่เครื่องเดียวสามารถใช้ได้ทุกเครื่อง ไม่ต้องลงหลายเครื่อง

- ป้องกันการ โดนหลอกยัดเยียดโปรแกรมลิขสิทธิ์ file mp3 หรือ file ผิกกฎหมายอื่นๆ Restart หรือ ปิด เปิดใหม่ ทุกอย่างจะกลับเป็นเหมือนเดิม

อุปกรณ์ที่ใช้
  1.เครื่องComputer Pc 1 ชุด        22,000 บาท
  2.เครื่องCom เก่า  5 เครื่อง        7,500   บาท         
  3.Router/Switch    1 เครื่อง        5,680   บาท

วันพุธที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2555

กิจกรรมในชั้นเรียนการนำคอมมาใช้ในชั้นเรียน

1.จงบอกเหตุผลในการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในงานอุตสาหกรรม
การนำเอาคอมพิวเตอร์มาใช้ในงานอุตสาหกรรม
ในวงการอุตสาหกรรมนับได้ว่าคอมพิวเตอร์ได้เข้ามามีบทบาทเป็นอย่างมาก ตั้งแต่การวางแผนการผลิต กำหนดเวลาการผลิต การออกแบบจนกระทั่งถึงการผลิตสินค้า ควบคุมระบบการผลิตและระบบคุณภาพทั้งหมด ในรายงานทางอุตสาหกรรมได้มีการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการควบคุมการทำงานของเครื่องจักร ตลอดจนโรงงานผลิตเกี่ยวกับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เช่นการทำลายวงจรลงบนแผ่นปริ้น ชึ่งจะช่วยในความสะดวกสบาย และความเป็นระเบียบเรียบร้อยการนำคอมพิวเตอร์มาช่วยในการออกแบบลายวงจรนั้น เป็นที่นิยมใช้กันใน กลุ่มอุตสาหกรรมขนาดกลางไปจนถึง กลุ่มอุตสาหกรรมขนาดใหญ่  เช่นกลุ่มโรงงานผลิตบอร์ดทดลอง หรือการผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ทันสมัย ซึ่งมีขนาดเล็กลง กลุ่มอุตสาหกรรมเหล่านี้จึงนิยมใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์มาช่วยในกระบวนการผลิตและการออกแบบลายวงจร ที่มีความระเอียดสูงๆโดยใช้โปรแกรม Protel

2.จงอธิบายระบบ CIM
Computer Integrated Manufacturing (CIM)
เป็นระบบการผลิตที่ใช้คอมพิวเตอร์เข้ามาควบคุมกระบวนการผลิตทั้งหมด การผสมผสานของระบบ ทำให้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงานแต่ละหน่วยได้ ทำให้แต่ละหน่วยรับรู้ความก้าวหน้าซึ่งกันและกัน ข้อดี คือ ระบบการผลิตจะมีความรวดเร็วและมีข้อผิดพลาดน้อย แม้ว่าข้อดีหลักของ CIM คือ ความสามารถในการสร้างกระบวนการผลิตอัตโนมัติ โดยทั่วไปแล้วระบบ CIM จะเป็นกระบวนการควบคุมแบบปิด (Closed-loop Control Processes) บนพื้นฐานของข้อมูล ณ ปัจจุบันที่ได้รับจากตัวตรวจรู้ (Sensor) 

3.จงบอกประโยชน์ของของการใช้ CIM
Computer Integrated Manufacturing (CIM)
เป็นทั้งกระบวนการผลิตและชื่อของระบบอัตโนมัตที่ควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์ โดยมีหน้าที่สนับสนุนการทำงานและเป็นระบบการจัดการของระบบการผลิตที่ประกอบด้วยฝ่ายต่างๆ เช่น ฝ่ายงานวิศวกรรม ฝ่ายงานการผลิต ฝ่ายการตลาด และฝ่ายการสนับสนุนอื่นๆ ขอบข่ายหน้าที่การทำงานของ CIM มีหลากหลายอย่าง เช่น ออกแบบ วิเคราะห์ วางแผน จัดซื้อ จัดการบัญชีต้นทุน ควบคุมคงคลัง และการกระจายผลิตภัณฑ์ เหล่านี้จะถูกเชื่อมโยงโดยคอมพิวเตอร์ไปยังอุปกรณ์ หรือหน่วยต่างๆ ภายในองค์กร CIM จะทำให้สามารถควบคุมกระบวนการได้โดยตรงและสามารถแสดงการทำงานปัจจุบันของทุกกระบวนการทำงาน

4.จงอธิบายการใช้ CADในงานอุตสาหกรรม
คอมพิวเตอร์ช่วยในการออกแบบ (COMPUTER AIDED DDSIGN)
ในกระบวนการของ CAD นอกจากจะเป็นการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการออกแบบแล้วยังรวมไปถึงการใช้คอมพิวเตอร์ในการดัดแปลง การวิเคราะห์และหาหนทางที่ดีที่สุดสำหรับการออกแบบ โดยระบบ CAD จะต้องมีทั้งส่วนที่เป็นฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์ โดยฮาร์ดแวร์ ของ CAD นอกจากจะประกอบด้วยระบบคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพสูงแล้ว ยังต้องมีจอกราฟิกและอุปกรณ์รับข้อมูล เช่น เมาส์ ดิจิไทเซอร์ ฯลฯ ส่วนซอฟต์แวร์ของ CAD นั้นจะเป็นโปรแกรมสำหรับสร้างกราฟิกและโปรแกรมช่วยต่าง ๆ เช่น โปรแกรมวิเคราะห์ โครงสร้าง เช่น FINITE ELEMENT ANALYSIS ซึ่งเราอาจเรียกส่วนนี้ว่า คอมพิวเตอร์ช่วยในงานวิศวกรรม (COMPUTER AIDED ENGINEERING) การติดตั้งเป็นกระบวนการในการตั้งค่าต่างเพื่อให้โปรแกรมสามารถทำงานร่วมกับคอมพิวเตอร์, เครื่องพิมพ์ และอุปกรณ์อื่นๆ ได้ การติดตั้งโปรแกรมเริ่มจากการใส่แผ่นโปรแกรม แล้วคัดลอกทุกส่วนของโปรแกรมจากแผ่นโปรแกรมลงในฮาร์ดดิสก์ของคอมพิวเตอร์ ในระหว่างการติดตั้ง โปรแกรมอาจถามคุณเกี่ยวกับการติดตั้งค่า การทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ เมื่อคุณติดตั้งเรียบร้อยแล้ว คุณจึงจะสามารถใช้งานโปรแกรมได้
5.จงอธิบายการใช้ CAMในงานอุตสาหกรรม
CAM Positioner มีการใช้งานกันอย่างกว้างขวางในเครื่องจักรอุตสาหกรรม โดยเฉพาะงานบรรจุภัณฑ์ หรืองานที่มีลักษณะหมุนเป็นวงรอบหรือวงกลม CAM Positioner จะประกอบด้วยเซนเซอร์ป้อนกลับและคอนโทรลเลอร์ทำหน้าที่วัดองศาและสั่งให้เอาท์พุททำงานตามตำแหน่งองศาที่ตั้งไว้ ซึ่งการใช้งานจะง่ายกว่าการใช้พีแอลซีเพราะไม่ต้องเขียนโปรแกรมที่ซับซ้อน เพียงแค่ตั้งองศาการทำงานบนคอนโทรลเลอร์เท่านั้น ส่วนเซนเซอร์ป้อนกลับที่นิยมใช้งานจะมี 2 แบบด้วยกันคือ Encoder กับ Resolver อุปกรณ์ทั้งสองมีข้อดีละข้อเสียที่แตกต่างกัน ดังจะอธิบายต่อไป
Resolver กับ Encoder มีข้อแตกต่างกันหลายอย่าง อุปกรณ์ทั้ง 2 ชนิด นิยมใช้ในงานอุตสาหกรรม แต่มีหลายท่านไม่ทราบหลักการทำงานของอุปกรณ์ดังกล่าวมากนัก จึงมีการเลือกใช้อย่างไม่เหมาะสม ในลำดับถัดไปเราจะกล่าวถึงหลักการทำงานและเปรียบเทียบข้อแตกต่าง เพื่อเป็นแนวทางในการเลือกใช้อุปกรณ์ทั้ง 2 ให้เหมาะสม
Resolver ทำงานอย่างไร ?
1Resolver ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อประโยชน์ทางการทหารเป็นเวลามากกว่า 50 ปี มีการใช้งานและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ในปัจจุบันได้มีการนำ Resolver มาใช้งานกันอย่างกว้างขวางในวงการอุตสาหกรรม โดยใช้เป็นเซนเซอร์เพื่อตรวจจับตำแหน่ง นิยมใช้ในอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์และการพิมพ์ เป็นต้น

 โครงสร้างของ Resolver
Resolver คือ หม้อแปลงไฟฟ้าแบบโรตารี่ (Rotary Transformer) ที่ทำหน้าที่ส่งผ่านพลังงานในรูปแบบของ SIN ไปยังเพลาหมุน (Rotor) Resolver จะมีขดลวด Primary เรียกว่าขดลวดอ้างอิง (Reference Winding) และขดลวด Secondary ซึ่งมี 2 ชุดเรียกว่าขดลวด SIN และขดลวด COS (ดังแสดงในรูป 2) ขดลวดอ้างอิงจะอยู่บน Rotor ของ Resolver ส่วนขดลวด SIN และขดลวด COS จะอยู่ที่ Stator โดยที่ขดลวด SIN และ COS จะถูกว่างในมุมที่ต่างกันทางกล 90 องศา
2-3
ในกรณีของ Resolver ที่ไม่มีแปลงถ่าน พลังงานไฟฟ้าจะถูกจ่ายเข้าที่ขดลวดอ้างอิง (Rotor) ผ่านทางหม้อแปลงไฟฟ้าโรตารี่ (Rotary Transformer) ทำให้ไม่ต้องใช้แปลงถ่านและ Slip ring
ปกติแล้วขดลวดอ้างอิงจะถูกกระตุ้นจากแรงดันไฟฟ้า AC เรียกว่าแรงดันอ้างอิง (Vr) ดังแสดงในรูปที่ 2 แรงดันเหนี่ยวนำที่เกิดขึ้นในขดลวด SIN และ COS จะเท่ากับค่าของแรงดันอ้างอิงคูณกับค่า SIN (Vs = Vr * SINsymbol) หรือ COS (Vc = Vr * COSsymbol) ของมุมที่เพลา เมื่อเปรียบเทียบกับจุดศูนย์ ดังนั้น Resolver จะทำให้ค่าแรงดันสองค่านี้ออกมา ซึ่งเป็นอัตราส่วนของค่าตำแหน่งของเพลา (SINsymbol/COSsymbol = TANsymbol , ซึ่ง symbol = มุมของเพลา) เนื่องจากอัตราแรงดัน SIN และ COS คือ ค่าของมุมเพลาและเป็นค่าสมบูรณ์ ดังนั้นค่าที่ได้จะไม่มีรับผลกระทบจากอุณหภูมิแวดล้อมหรืออายุการใช้งาน ซึ่งเป็นข้อดีของ Resolver

6.จงอธิบายการใช้ CAD/CAMในงานอุตสาหกรรม
คอมพิวเตอร์ช่วยในการออกแบบ (COMPUTER AIDED DDSIGN)
ในกระบวนการของ CAD นอกจากจะเป็นการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการออกแบบแล้วยังรวมไปถึงการใช้คอมพิวเตอร์ในการดัดแปลง การวิเคราะห์และหาหนทางที่ดีที่สุดสำหรับการออกแบบ โดยระบบ CAD จะต้องมีทั้งส่วนที่เป็นฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์ โดยฮาร์ดแวร์ ของ CAD นอกจากจะประกอบด้วยระบบคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพสูงแล้ว ยังต้องมีจอกราฟิกและอุปกรณ์รับข้อมูล เช่น เมาส์ ดิจิไทเซอร์ ฯลฯ ส่วนซอฟต์แวร์ของ CAD นั้นจะเป็นโปรแกรมสำหรับสร้างกราฟิกและโปรแกรมช่วยต่าง ๆ เช่น โปรแกรมวิเคราะห์ โครงสร้าง เช่น FINITE ELEMENT ANALYSIS ซึ่งเราอาจเรียกส่วนนี้ว่า คอมพิวเตอร์ช่วยในงานวิศวกรรม (COMPUTER AIDED ENGINEERING) การติดตั้งเป็นกระบวนการในการตั้งค่าต่างเพื่อให้โปรแกรมสามารถทำงานร่วมกับคอมพิวเตอร์, เครื่องพิมพ์ และอุปกรณ์อื่นๆ ได้ การติดตั้งโปรแกรมเริ่มจากการใส่แผ่นโปรแกรม แล้วคัดลอกทุกส่วนของโปรแกรมจากแผ่นโปรแกรมลงในฮาร์ดดิสก์ของคอมพิวเตอร์ ในระหว่างการติดตั้ง โปรแกรมอาจถามคุณเกี่ยวกับการติดตั้งค่า การทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ เมื่อคุณติดตั้งเรียบร้อยแล้ว คุณจึงจะสามารถใช้งานโปรแกรมได้
CAM Positioner มีการใช้งานกันอย่างกว้างขวางในเครื่องจักรอุตสาหกรรม โดยเฉพาะงานบรรจุภัณฑ์ หรืองานที่มีลักษณะหมุนเป็นวงรอบหรือวงกลม CAM Positioner จะประกอบด้วยเซนเซอร์ป้อนกลับและคอนโทรลเลอร์ทำหน้าที่วัดองศาและสั่งให้เอาท์พุททำงานตามตำแหน่งองศาที่ตั้งไว้ ซึ่งการใช้งานจะง่ายกว่าการใช้พีแอลซีเพราะไม่ต้องเขียนโปรแกรมที่ซับซ้อน เพียงแค่ตั้งองศาการทำงานบนคอนโทรลเลอร์เท่านั้น ส่วนเซนเซอร์ป้อนกลับที่นิยมใช้งานจะมี 2 แบบด้วยกันคือ Encoder กับ Resolver อุปกรณ์ทั้งสองมีข้อดีละข้อเสียที่แตกต่างกัน