วันพุธที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2555

Programmable logic controller



                                          โครงสร้างภายในของ   Programmable logic controller


                                                                             รูปที่ 1.1


          Programmable Logic Controller เครื่องควบคุมเชิงตรรกที่สามารถโปรแกรมได้          PLC : Programmable Logic Controller (มีต้นกำ เนิดจากประเทศสหรัฐอเมริกา) เป็นเครื่อง    
          ควบคุมอัตโนมัติในโรงงานอุตสาหกรรม

          ที่สามารถจะโปรแกรมได้ ถูกสร้างและพัฒนาขึ้นมาเพื่อทดแทนวงจรรีเลย์ อันเนื่องมาจากความต้องการที่อยากจะได้เครื่องควบ คุมที่มีราคาถูกสามารถใช้งานได้อย่างเอนกประสงค์ และสามารถเรียนรู้การใช้งานได้ง่าย
        ข้อแตกต่างระหว่าง PLC กับ COMPUTER
1. PLC ถูกออกแบบ และสร้างขึ้นเพื่อให้ทนต่อสภาพแวดล้อมในโรงงานอุตสาหกรรมโดยเฉพาะ
2. การโปรแกรมและการใช้งาน PLC ทำได้ง่ายไม่ยุ่งยากเหมือนคอมพิวเตอร์ทั่วไป PLC มีระบบการตรวจสอบตัวเองตั้งแต่ช่วงติดตั้ง
    จนถึงช่วงการใช้งานทำให้การบำรุงรักษาทำได้ง่าย
3. PLCถูกพัฒนาให้มีความสามารถในการตัดสินใจสูงขึ้นเรื่อยๆทำให้การใช้งานสะดวกขณะที่วิธีใช้คอมพิวเตอร์ยุ่งยากและซับซ้อนขึ้น

                                   โครงสร้างภายนอกของ  Programmable logic controller



รูปที่ 1.2

 ถ้ากล่าวถึงการใช้งานไมโครคอนโทรลเลอร์เพื่อใช้งานจริงแล้ว แทบทุกคนจะประสบกับปัญหาการใช้งาน ไม่รู้ว่าจะใช้คำสั่งใดดี ถึงจะทำให้ได้ผลลัพธ์เป็นดังเราต้องการ เพราะไม่ว่าจะใช้ภาษาแอสเซมบี้ หรือภาษาที่สูงมาอีกระดับ เช่นภาษาซี หรือภาษาปาสคาล หรือภาษาเบสิก ก็ตาม ก็ยังสร้างงานด้วยความยุ่งยากอยู่ดี และยิ่งในงานควบคุมอุตสาหกรรม ความรวดเร็วในการใช้งาน แก้ไข ตรวจสอบ ยิ่งเป็นสิ่งจำเป็น 
 ด้วยข้อยุ่งยากในการใช้งานภาษาข้างต้น จึงเกิดความคิดว่า น่าจะมีภาษาอะไรก็ได้ที่ง่ายต่อการใช้งาน ทำให้เกิดภาษาหนึ่งขึ้นมา นั่นก็คือภาษาแลดเดอร์ (Ladder) โดยภาษาแลดเดอร์นั้น ขั้นต้นจะเลียนแบบวงจรซีเคว้นของรีเลย์ ทำให้ไดอะแกรมของแลดเดอร์เขียนตามไดอะแกรมของวงจรรีเลย์ไปด้วย และทางด้านฮาร์ดแวร์ก็ออกแบบให้มีความทนทาน ต่อสัญญานรบกวนต่างๆ และเป็นโมดูลที่สะดวกต่อการใช้งานยิ่งขึ้น โดยใช้ชื่อว่า PLC(Programmable Logic Controller)  ในเมืองไทยมีการใช้งานPLC มานานพอสมควร เิริ่มแรกก็ติดมากับเครื่องจักรที่สั่งมาจากต่างประเทศ ระยะหลังจึงค่อยๆแพร่หลายมากยิ่งขึ้น เนื่องจากใช้งานง่ายและสะดวกในการแก้ไขวงจร ไม่ต้องแก้ไขวงจรทางฮาร์ดแวร์มากนัก หรือบางครั้งไม่ต้องแก้ไขเลย  แต่อย่างไรก็ตาม PLC ยังเป็นเครื่องมือที่มีราคาสูงอยู่พอสมควร ทำให้ไม่สะดวกในการหามาเรียนรู้ หรือเรียนรู้ได้แต่ในการไปประยุกต์ใช้งานจริงอาจทำไม่ได้ เนื่องจากอาจมีราคาแพงไปสำหรับงานบางงาน และนี้จึงถือกำเนิด PLC nurotec seri N สายพันธ์ไทย คุณภาพระดับโลก แต่ราคาไม่แพง จะใช้เพื่อฝึกเขียนโปรแกรมหรือใช้งานจริงก็ได้





คุณสมบัติ
      1.  มีอินพุต 16 ตัว
2. มีเอ้าพุตแบบรีเลย์ 8ตัว หน้าคอนแทค10 A.
 3. Supply มี2รุ่น คือใช้ไฟ 12 Vdc และ 24 Vdc
      4. จอแสดงผลมีไฟมองในที่มืดได้
      5  .มี 3โหมด คือ PROGRAM , RUN , MONITOR
         ในโหมด
MONITOR สามารถดูค่าสถานะต่างๆ
      6. มีฟังชั่นทดสอบการทำงานของรีเลย์เอ้าพุต
      7.บอร์ดขนาด 13.1 x 11.4 cm


ส่วนฮาร์ดแวร์

ส่วนประกอบของ PLC ก็คล้ายกับไมโครคอมพิวเตอร์ย่อส่วนนั่นเอง คือมีคีย์บอร์ด จอแสดงผล หน่วยประมวลผล หน่วยความจำ ภาคติดต่ออินพุตและภาคติดต่อเอ้าพุต










โปรแกรมแลดเดอร์

      ภาษาแลดเดอร์เป็นภาษาเชิงรูปภาพ ประกอบไปด้วย แลดเดอร์ไดอะแกรมเพื่อไว้ดู และคำสั่งแลดเดอร์เพื่อไว้สั่งงาน ถูกออกแบบมาเพื่อให้ง่ายต่อการใช้งาน แต่เดิมนั้นออกแบบมาแทนวงจรรีเลย์ ดังนั้นแลดเดอไดอะแกรมจะอ้างอิงวงจรซีเคว้นของรีเลย์เป็นส่วนใหญ่ ต่อมามีการพัฒนาฟังชั่นให้สะดวกแ่ก่การใช้งานมากขึ้น แต่จะเป็น PLC ในรุ่นที่สูงๆ แต่ในการใช้งานจริงนั้น ถ้าไม่ซับซ้อนจนเกินไป ฟังชั่นพื้นฐานก็เพียงพอต่อการใช้งาน ซึ่งฟังชั่นพื้นฐานดังนี้
1.LD
เป็นการรับค่าเบื้องต้นของบล็อก
2.OR
การ or หรือ การต่อแบบขนาน
3.AND
การ and หรือ การต่อแบบอนุกรม
4.NOT
การ not หรือ การกลับค่า
5.OUT
เอ้าพุตแบบรีเลย์
6.TIM
เอ้าพุตแบบไทเมอร์หรือตัวจับเวลา
7.CNT
เอ้าพุตแบบเค้าเตอร์หรือตัวนับ
8.KEEP
เอ้าพุตแบบรีเลย์แบบมีแลตช์หรือค้างสถานะ
9.END
คำสั่งจบโปรแกรม



      ภาษาแลดเดอร์เป็นภาษาเชิงรูปภาพ ประกอบไปด้วย แลดเดอร์ไดอะแกรมเพื่อไว้ดู และคำสั่งแลดเดอร์เพื่อไว้สั่งงาน ถูกออกแบบมาเพื่อให้ง่ายต่อการใช้งาน แต่เดิมนั้นออกแบบมาแทนวงจรรีเลย์ ดังนั้นแลดเดอไดอะแกรมจะอ้างอิงวงจรซีเคว้นของรีเลย์เป็นส่วนใหญ่ ต่อมามีการพัฒนาฟังชั่นให้สะดวกแ่ก่การใช้งานมากขึ้น แต่จะเป็น PLC ในรุ่นที่สูงๆ แต่ในการใช้งานจริงนั้น ถ้าไม่ซับซ้อนจนเกินไป ฟังชั่นพื้นฐานก็เพียงพอต่อการใช้งาน ซึ่งฟังชั่นพื้นฐานดังนี้

CAD (Computer Aided Design and Drafting)

1.การนำ CAD (Computer Aided Design and Drafting) ไปใช้ในงานอุตสาหกรรม

        ปัจจุบัน เทคโนโลยีในการผลิตได้พัฒนาก้าวไกลไปมาก ดังจะเห็นได้จากมีผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ออกมาวางจำหน่ายในท้องตลาดเพิ่มมากขึ้น และระยะเวลาในการผลิตเพื่อออกวางจำหน่ายก็มีช่วงระยะเวลาที่สั้นกว่าเดิมมาก     บางผลิตภัณฑ์ออกจากวางจำหน่ายทุก ๆ 3 เดือน หรือ 6 เดือน ซึ่งผลิตภัณฑ์ที่ออกวางจำหน่ายบางชิ้นอาจมีลักษณะการใช้งานเหมือนกัน แต่ต่างกันที่บริษัทผู้ผลิต คุณสมบัติการใช้งานใกล้เคียงกันมากจนไม่อาจแยกแยะออกได้   แตกต่างกันเล็กน้อยตรงวัสดุที่ใช้ผลิต หรือ ความทดทานในการใช้งาน ผู้บริโภคสามารถเลือกใช้ได้ตามราคาที่จัดจำหน่าย   
             
        หัวใจของการผลิตสมัยใหม่ก็คือการนำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์มาช่วยในการผลิต    เทคโนโลยีแคดแคม เป็นเทคโนโลยีหนึ่งที่ ณ ปัจจุบัน อุตสาหกรรมเกือบทุกสถานประกอบการได้เลือกใช้และนำมาใช้งานจริง   เพราะไม่เช่นนั้นแล้วคงไม่สามารถแข่งขันกับบริษัทคู่แข่งได้   การนำเทคโนโลยีแคดแคมมาใช้งานช่วยให้การออกแบบผลิตภัณฑ์มีความแปลกใหม่ รูปทรงสวยงาม สีสันสะดุดตา การใช้งานเข้ากับสมัยนิยม   ช่วยลดเวลาในการผลิต   ดังนั้นการใช้งานระบบ แคดแคม CAD/CAM จึงมีบทบาทมากในอุตสาหกรรมการผลิตปัจจุบัน 


CAD คืออะไร
CAD เป็นคำย่อของ Computer Aided Design ซึ่งแปลเป็นภาษาไทยว่าคอมพิวเตอร์ช่วยใน
การออกแบบ เป็นการนำคอมพิวเตอร์มาช่วยในการสร้างชิ้นส่วน (Part) ด้วยแบบจำลองทางเรขาคณิต
วิศวกรเครื่องกลหรือวิศวกรออกแบบใช้ CAD software ในการสร้างชิ้นส่วน หรือเรียกว่า
แบบจำลอง (Model) และแบบจำลองนี้สามารถแสดงเป็นแบบ (Drawing) หรือไฟล์ข้อมูล CAD
สำหรับวิศวกรการผลิตใช้CAD software เพื่อ
• พัฒนาแบบจำลองชิ้นส่วนจากแบบที่ได้รับ
• ประเมินและแก้ไขข้อมูล CAD ของชิ้นส่วนที่ออกแบบบนระบบ CAD เพื่อให้ยอมรับได้
ในการผลิต
• เปลี่ยนแปลงชิ้นส่วนที่ออกแบบเพื่อให้สามารถผลิตได้ สิ่งนี้อาจรวมถึงการเพิ่มมุมสอบ
(Draft angle) หรือพัฒนาแบบจำลองของชิ้นส่วนที่แตกต่างกันออกไป สำหรับขั้นตอน
ที่แตกต่างกันในกระบวนการผลิตที่ซับซ้อน
• ออกแบบอุปกรณ์จับยึด โพรงแบบ (Model cavity) ฐานแม่พิมพ์ (Mold base) หรือ
เครื่องมืออื่น ๆ

การใช้ CAD ในการสร้างรูปร่างชิ้นส่วนสามารถทำได้ 3 ลักษณะ คือ ปริมาตรตัน (Solid)
พื้นผิว (Surface) และโครงลวด (Wire frame) ซึ่งแต่ละแบบจะเหมาะกับงานเฉพาะอย่าง

นอกจากการใช้ CAD ในการสร้างชิ้นส่วนแล้วปัจจุบัน CAD software บางตัวยังสามารถใช้ใน
งานวิศวกรรมย้อนกลับ (Reverse engineering) ได้ คุณภาพของพื้นผิวที่สร้างขึ้นมาจากซอฟต์แวร์
วิศวกรรมย้อนกลับส่วนมากขึ้นอยู่กับ 2 องค์ประกอบ คือ คุณภาพของแบบจำลองหรือส่วนประกอบที่
นำมาสแกน และคุณภาพของข้อมูลเชิงตัวเลข บางครั้งในการทำงานจริงเราไม่สามารถได้แบบจำลองที่
สมบูรณ์ หรือคุณภาพของข้อมูลเชิงตัวเลขที่ได้ไม่ดี เนื่องจากชิ้นส่วนชำรุดหรือถูกทำลาย CAD
software บางตัวสามารถแก้ไขปัญหาพื้นผิวของแบบจำลองในบริเวณที่ชำรุดได้ หรืออาจแต่งเติม
ดัดแปลงให้ดีกว่าของเดิมที่สแกนมาได้


2.ตัวอย่างการประมวลผลข้อมูลของ CAD
             1. คอมพิวเตอร์ช่วยในการออกแบบ    ( Computer Aided Design , CAD)
  เป็นการนำคอมพิวเตอร์มาประยุกต์ใช้ร่วมกับโปรแกรมเขียนแบบที่อ้างอิงกับรูปเรขาคณิตพื้นฐาน (Geometry) เพื่อประกอบกันขึ้นเป็นแบบจำลองของผลิตภัณฑ์ ซึ่งแสดงในรูปของเส้นต่างๆ(Curve) พื้นผิว (Surface) ใน 2 มิติหรือ 3 มิติ โดยสามารถปรับแบบจำลองดังกล่าวให้เหมือนจริง ด้วยการกำหนดสี ลักษณะพื้นผิว(Texture) สามารถคำนวณหาพื้นที่ ปริมาตร หรือน้ำหนักได้ก่อนทำการผลิต ใช้ทดสอบการวางตำแหน่ง การประกอบ และจำลองการเคลื่อนไหว รวมถึงการนำข้อมูลต่างๆที่ได้ไปใช้ในการคำนวณ หรือกำหนดขั้นตอนเพื่อวางแผนการผลิตล่วงหน้าได้
                              
 รูปที่ 1.1 การออกแบบ เขียนแบบด้วยคอมพิวเตอร์ (CAD)       รูปที่ 1.2   การเขียนแบบสั่งงาน (Detail Drawing)
            2. คอมพิวเตอร์ช่วยในการผลิต     (Computer Aided Manufacturing , CAM)
  เป็นการนำคอมพิวเตอร์มาประยุกต์ใช้ร่วมกับโปรแกรมเพื่อใช้ในการจำลองการทำงานขั้นตอนการผลิต อาจจะเป็นการจำลองการกัดแม่พิมพ์ การจำลองการกัดชิ้นงานด้วยเครื่องจักรกลอัตโนมัติซีเอ็นซี หรือนำไปสร้างหุ่นต้นแบบด้วยเครื่องขึ้นรูปต้นแบบ (Rapid  Prototype)  ขั้นตอนสุดท้ายของการใช้ CAM เข้ามาช่วยในการผลิตก็คือ การทำ Postprocesssing   เพื่อแปลงเส้นทางเดินของมีดให้เป็นโปรแกรม ซีเอ็นซี CNC
           
               
รูปที่ 1.3 การใช้งานโปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยการผลิต(CAM)
           3. คอมพิวเตอร์ช่วยวิเคราะห์การผลิต    (Computer Aided Engineering , CAE) 
   เป็นการนำคอมพิวเตอร์มาประยุกต์ใช้ร่วมกับโปรแกรมในด้านการวิเคราะห์ คำนวณทางด้านวิศวกรรมที่อ้างอิงกับข้อมูลของ CAD เพื่อจำลองสภาวะการทำงาน   และคำนวณหาค่าตัวแปรที่ส่งผลกระทบกับการทำงานของผลิตภัณฑ์ภายใต้สภาวะการทำงานที่กำหนด
                 



                เทคโนโลยีของซอฟต์แวร์ CAD ได้ถูกพัฒนาเริ่มจากการเป็นซอฟต์แวร์ช่วยเขียนแบบ 2 มิติ(Drawing) เสมือนเป็นกระดานเขียนแบบอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งจะมีคำสั่งในการใช้งานซึ่งผู้ใช้สามารถเรียกใช้คำสั่ง โดยการใช้เมาส์เลือกที่เมนูบนจอภาพ หรือการป้อนคำสั่งจากแป้นพิมพ์ ซอฟต์แวร์ CAD มีหลายกลุ่มคำสั่ง ได้แก่ คำสั่งในการวาดองค์ประกอบต่างๆ ได้แก่ เส้นตรง(Line), ส่วนโค้ง(Arc), วงกลม(Circle),วงรี(Ellipse), รูปเหลี่ยม(Polygon) เช่น สามเหลี่ยม, สี่เหลี่ยม และยังมีคำสั่งในการช่วยวาดองค์ประกอบเพิ่มเติม เช่น การสะท้อนให้เกิดภาพ (Mirror), การสำเนาองค์ประกอบที่มีอยู่(Copy) นอกจากนี้ยังมีคำสั่งในการแก้ไขสิ่งที่ได้วาดลงไปแล้ว ได้แก่ คำสั่งลบออก(Erase), ตัดบางส่วน (Trim), เคลื่อนย้าย(Move), หมุนภาพ(Rotate), การจัดองค์ประกอบต่างๆจำแนกอยู่ในชั้นต่างๆ(Layer) เพื่อความสะดวกในการทำงานเสมือน มี แบบหลายๆ แผ่นมาซ้อนทับกันอยู่ เช่น ในอาคารหนึ่งหลังจะมีทั้งแบบโครงสร้างแบบไฟฟ้า, แบบผนัง ฯลฯ ซึ่งเป็นกระดาษไข เมื่อต้องการใช้ก็จะนำมาทาบกับคำสั่งดังกล่าวที่ซอฟต์แวร์ CAD 2 มิติ มีให้นั้น ทำให้ผู้ใช้สะดวกและประหยัดทั้งเวลาและค่าใช้จ่าย คือเขียนแบบให้เสร็จในคอมพิวเตอร์ จากนั้นค่อยพลอตออกทางเครื่องพลอต(Plotter) ทำให้ประหยัดกระดาษ, ประหยัดเวลาที่จะต้องเขียนแบบใหม่หมดหากเกิดข้อผิดพลาด, ไม่ต้องใช้ใบมีดขูดแบบเพื่อลบเส้นที่ผิด แต่ด้วยการใช้ซอฟต์แวร์ CAD ที่เป็น 2 มิติ นี้ ผู้ใช้ยังคงต้องใช้จินตนาการและประสบการณ์ เพื่อวาดให้ได้แบบที่ถูกต้อง เช่น การวาดรูปด้านข้างของอาคารหรือของชิ้นส่วนที่มีความโค้งมน เหล่านี้ อาจทำให้แบบที่ออกมามีความผิดพลาดไป

            ซอฟต์แวร์ CAD อีกประเภทหนึ่งซึ่งเป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้เทคโนโลยีในการพัฒนาสูงขึ้น คือ ซอฟต์แวร์ CAD ที่มีการทำงานในระบบ 3 มิติ ซึ่งจะมีคุณสมบัติพื้นฐาน คือ

            1.ออกแบบหรือสร้างแบบจำลอง ลักษณะ 3 มิติ คือ มีขนาดทั้งความกว้าง ความยาว และความสูง(ความหนา)

            2.หมุนดูได้ทุกมุมมองที่อยากดู

            3.สร้างแบบ(Drawing) 2 มิติหลังจากการเสร็จสิ้นออกแบบ เพื่อนำไปผลิต

            4.แก้ไขได้ทันทีที่ต้องการ




รูปแบบการแสดงข้อมูล 3 มิติ 
            ในซอฟต์แวร์ CAD 3 มิติ มี 4 แบบ

            1. ข้อมูลแบบ Wireframe การแสดงผลแบบนี้มักจะพบในซอฟต์แวร์รุ่นเก่าๆ ซึ่งจะเก็บข้อมูลของแบบจำลองเฉพาะ เส้นขอบ(ทั้งเส้นตรงและเส้นโค้ง) และพิกัดของจุด การแสดงผลแบบนี้ทำได้รวดเร็ว แต่ภาพที่ได้จะดูค่อนข้างยาก ว่าแสดงผลอยู่ในมุมมองใด

            2. ข้อมูลแบบ Surface การแสดงผลแบบนี้จะคล้ายกับการนำผืนผ้าสี่เหลี่ยมซึ่งถือเป็น 1 ผิวหน้า(face)มาเย็บต่อ ๆ กัน จะได้เป็นพื้นผิว(surface) บาง คล้ายเปลือกนอก การเก็บข้อมูลแบบนี้จะเก็บข้อมูล เส้นขอบ พิกัดของจุด และข้อมูลของขอบผิวที่ติดกัน

            3. Constructive solid geometry(CSG) ข้อมูลแบบจำลอง 3 มิติ แบบนี้จะถูกเก็บในลักษณะของ ลำดับของการนำรูปทรงตันพื้นฐาน(Solid Primitives) เช่น ก้อนลูกบาศก์, ลูกกลม, ทรงกระบอก, ลิ่ม, ปิรามิด ฯลฯ มาสร้างความสัมพันธ์กันด้วย Boolean Operator เช่น union(รวมกัน), subtract(ลบออก), intersection(เฉพาะส่วนที่ซ้อนทับกัน) และ difference(เฉพาะส่วนที่ไม่ทับกัน) เพื่อให้ได้รูปทรงที่ต้องการ รูปทรงที่ใช้วิธีนี้สร้างจะมีความถูกต้องสูง เนื่องจากใช้วิธีการทำ Boolean Operation เท่านั้นซึ่งเป็นวิธีที่ธรรมดาและโครงสร้างของข้อมูลก็ไม่ซับซ้อน

            4.Boundary representation(B-Rep) ข้อมูลแบบจำลอง 3 มิติแบบนี้ จะเก็บข้อมูลของพื้นผิวรอบนอกของทรงตันที่เชื่อมติดต่อกัน ซึ่งมีข้อมูลของ พื้นผิว(face), ขอบ(edge), จุดมุมของพื้นผิว(vertex) และความสัมพันธ์ของข้อมูลทั้งสาม


ข้อมูลแบบ B-rep แบ่งได้เป็น 3 ระดับ
            1. facetted เป็น Solid ที่ ถูกปิดล้อมด้วย Planar surface
            2. elementary เป็น Solid ที่ ถูกปิดล้อมด้วย planar, quadric, หรือ toroidal surface
            3. advanced เป็น Solid ที่ ถูกปิดล้อมด้วย planar, quadric, toroidal surface รวมถึง spline surface (สร้างจาก B-Spline, Bzier, NURBS )
ตัวอย่างรายชื่อซอฟต์แวร์ CAD ที่มีให้เลือกใช้ในวงการต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
  • วงการสถาปัตยกรรม AutoDesk Architectural Desktop, Microstation J, Arris ฯลฯ
  • วงการโยธา AutoDesk Land Survey, MX ฯลฯ
  • วงการก่อสร้างโรงงาน AutoPLANT Piping, Xsteel , CADWorx ฯลฯ
  • วงการเครื่องจักรกล CATIA, I-Deas, Inventor, Pro/Engineer, SolidEdge, SolidWorks, Unigraphics ฯลฯ
  • วงการอัญมณี JewelCAD ฯลฯ
  • วงการแผนที่ ESRI, AutoCAD MAP ฯลฯ


             ความสัมพันธ์ของระบบ CAD/CAM/CAE และ CNC Machine

   หลังจากวิศวกรได้แนวคิดในการออกแบบ (Conceptual Design)  ก็จะนำข้อมูลรูปร่างของผลิตภัณฑ์มาเขียนหรือออกแบบด้วยคอมพิวเตอร์ (CAD)  แล้วทำการกำหนดความสัมพันธ์ของแบบจำลอง และมิติร่วมกันเพื่อให้เกิดรูปทรงตามต้องการ จากนั้นจึงทำการตรวจสอบการวางตำแหน่ง การประกอบ(Assembly)   ตลอดจนกำหนดค่าความคาดเคลื่อนของชิ้นงาน (Tolerance) ในกรณีที่พบความผิดพลาดก็สามารถปรับแก้ไขเสียใหม่ให้ถูกต้อง จากนั้นจึงจัดทำแบบสั่งงานแสดงรายละเอียด (Detail Drawing) เพื่อใช้เป็นข้อมูลอ้างอิงในการจัดสร้างผลิตภัณฑ์ต่อไป จากนั้นจึงนำข้อมูลของที่ได้จาก CAD มาทำการวิเคราะห์ หรือทดสอบผลิตภัณฑ์ โดยใช้โปรแกรมการคำนวณทางด้านวิศวกรรมด้วยคอมพิวเตอร์ (CAE) เพื่อจำลองสภาวะการทำงาน คำนวณหาค่าของตัวแปรที่ส่งผลกระทบกับการทำงานของผลิตภัณฑ์ภายใต้สภาวะการทำงานที่กำหนด เนื่องด้วยการคำนวณด้วยโปรแกรม CAE มีความเที่ยงตรงค่อนข้างสูง ทำให้ผู้ออกแบบสามารถประเมินพฤติกรรมของชิ้นงาน เช่น การกระจายน้ำหนัก ระดับความสั่นสะเทือน การบิดงอ แตกร้าว หรือ อื่น ๆก่อนทำสร้างชิ้นงานจริงออกมา เมื่อทดสอบด้วยโปรแกรม CAE แล้วจึงนำข้อมูลดังกล่าวไปใช้ในขั้นตอนการผลิตด้วยคอมพิวเตอร์ (CAM)   ซึ่งเป็นการจำลองการกัดชิ้นงานด้วยจักรกลอัตโนมัติ (CNC Machine) หรือนำไปสร้างหุ่นต้นแบบด้วยเครื่องขึ้นรูปต้นแบบ (Rapid Prototype)


เพื่อนำไปวิเคราะห์ หรือนำเสนอแก่ลูกค้า หรือผู้ว่าจ้าง ต่อไป เมื่อตรวจสอบแน่นอนแล้วว่าชิ้นงานที่ออกแบบไว้ถูกต้องดีแล้ว จึงนำไปผลิตด้วยเครื่องจักรกลอัตโนมัติ (CNC Machine ) ที่เหมาะสม


หมายเหตุ  แต่เนื่องจากปัจจุบันซอฟต์แวร์โปรแกรมทางด้าน CAE ยังมีราคาค่อนข้างสูง และจำเป็นต้องใช้ผู้มีความรู้ ความชำนาญในการแปรผลการวิเคราะห์ที่ถูกต้อง ดังนั้นในอุตสาหกรรมบ้านเราจึงยังไม่เป็นที่แพร่หลายในโรงงาน หรือสถานประกอบการขนาดเล็กถึง ปานกลาง จะมีใช้ก็แต่ในโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ เท่านั้น   ดังนั้นหลายโรงงานจึงขาดขั้นตอนของ CAE ไป เหลือแต่ขั้นตอนของ CAD/CAM เท่านั้น



 

 
รูปที่ 1.5 แผนผังแสดงกระบวนการออกแบบทางวิศวกรรม( Engineering Design)



ประโยชน์โดยตรงในการนำเอาคอมพิวเตอร์มาช่วยในการเขียนแบบนั้นมีดังนี้      



1. ทำให้การเขียนแบบเป็นไปอย่างง่ายดาย สวยงาม และรวดเร็วมาก
2. มีความเที่ยงตรงแม่นยำสูง แบบที่พิมพ์ออกมามีขนาดถูกต้องสวยงาม
3. การแก้ไขแบบสามารถกระทำได้โดยง่ายจากฐานข้อมูลเดิมที่มีอยู่แล้ว
4. การจัดเก็บใช้พื้นที่น้อยและสามารถส่งไปยังที่ใด ๆ ได้โดยผ่านทาง Internet
5. ช่วยลดความผิดพลาด ซึ่งมีผลทำให้ลดต้นทุน  และ ลดเวลาในการออกแบบ

การนำ CAD software ไปใช้ประโยชน์
  • สร้างแบบจำลองหรือ model ขึ้นตามแบบที่ได้ทำการออกแบบ
  • วิเคราะห์ ประเมินและแก้ไขข้อมูล CAD ของ Part ที่ได้ทำการออกแบบไว้เพื่อให้สามารถทำการผลิตได้จริงในการผลิตและมี function การทำงานตามแต่ละวัตถุประสงค์ของ Part นั้นๆ
  • ใช้เป็นข้อมูลในการผลิต jig, fixture และเครื่องมืออื่นๆ สำหรับใช้ในขั้นตอนการผลิต
การใช้ CAD ในการสร้างรูปร่างต่างๆของ Part สามารถทำได้ 3 ลักษณะ คือ ปริมาตรตัน (Solid modeling), พื้นผิว (Surface modeling) และโครงลวด (Wire frame modeling) ซึ่งแต่ละแบบจะเหมาะสมกับการทำงานเฉพาะอย่าง
Surface modeling
การแสดงผลแบบนี้จะคล้ายกับการนำผืนผ้าสี่เหลี่ยมซึ่งถือเป็น 1 ผิวหน้า (face) มาเย็บต่อ ๆ กัน จะได้เป็นพื้นผิว (surface) บาง คล้ายเปลือกนอก การเก็บข้อมูลแบบนี้จะเก็บข้อมูล เส้นขอบ พิกัดของจุด และข้อมูลของขอบผิวที่ติดกัน
http://cadeasy.files.wordpress.com/2011/07/cad-surface-modeling.jpg?w=614
 
Solid modeling
ข้อมูลแบบจำลอง 3 มิติ แบบนี้จะถูกเก็บในลักษณะของ ลำดับของการนำรูปทรงตันพื้นฐาน (Solid Primitives) เช่น ก้อนลูกบาศก์, ลูกกลม, ทรงกระบอก, ลิ่ม, ปิรามิด ฯลฯ มาสร้างความสัมพันธ์กันด้วย Boolean Operator เช่น union (รวมกัน), subtract (ลบออก), intersection (เฉพาะส่วนที่ซ้อนทับกัน) และ difference (เฉพาะส่วนที่ไม่ทับกัน) เพื่อให้ได้รูปทรงที่ต้องการ รูปทรงที่ใช้วิธีนี้สร้างจะมีความถูกต้องสูง เนื่องจากใช้วิธีการทำ Boolean Operation เท่านั้นซึ่งเป็นวิธีที่ธรรมดาและโครงสร้างของข้อมูลก็ไม่ซับซ้อน
http://cadeasy.files.wordpress.com/2011/07/cad-solid-modeling.jpg?w=614
Wire-frame modeling
การแสดงผลแบบนี้มักจะพบในซอฟต์แวร์รุ่นเก่าๆ ซึ่งจะเก็บข้อมูลของแบบจำลองเฉพาะ เส้นขอบ(ทั้งเส้นตรงและเส้นโค้ง) และพิกัดของจุด การแสดงผลแบบนี้ทำได้รวดเร็ว แต่ภาพที่ได้จะดูค่อนข้างยาก ว่าแสดงผลอยู่ในมุมมองใด
http://cadeasy.files.wordpress.com/2011/07/cad-wireframe-modeling.jpg?w=614
นอกจากการใช้ CAD ในการสร้าง Part แล้วในปัจจุบัน CAD software บางตัวยังสามารถใช้ในงานวิศวกรรมย้อนกลับ (Reverse engineering) โดยคุณภาพของพื้นผิวที่สร้างขึ้นมาจากซอฟต์แวร์วิศวกรรมย้อนกลับส่วนมากขึ้น อยู่กับ 2 องค์ประกอบ คือ คุณภาพของ modeling หรือ Part ที่นำมาสแกน และคุณภาพของข้อมูลเชิงตัวเลข บางครั้งในการทำงานจริงเราไม่สามารถได้แบบจำลองที่สมบูรณ์เนื่องจากชิ้นส่วน ชำรุด หรือคุณภาพของข้อมูลเชิงตัวเลขที่ได้มาอาจไม่ดี software บางตัวสามารถแก้ไขปัญหาพื้นผิวของแบบจำลองในบริเวณที่ชำรุดได้ หรืออาจแต่งเติมดัดแปลงให้ดีกว่าของเดิมที่สแกนมาได้
3.สรุปการนำ  CAD (Computer Aided Design and Drafting) ไปใช้ในงานอุตสาหกรรม



คอมพิวเตอร์ช่ วยในการออกแบบ (COMPUTER AIDED DESIGN)

ในกระบวนการของ CAD นอกจากจะเป็นการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการออกแบบแล้วยังรวมไปถึงการใช้คอมพิวเตอร์ในการดัดแปลง การวิเคราะห์และหาหนทางทีÉ ดีทีÉสุดสําหรับการออกแบบ โดยระบบ CAD จะต้องมีทังส่ วนที เป็นฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์ โดยฮาร์ดแวร์ของ CAD นอกจากจะประกอบด้วยระบบคอมพิวเตอร์ทีมีประสิทธิภาพสูงแล้วยังต้องมีจอกราฟิ กและ

อุปกรณ์รับข้อมูล เช่น เมาส์ ดิจิไทเซอร์ Scanner ฯลฯ ส่วนซอฟต์แวร์ของ CAD นันจะเป็นโปรแกรมสําหรับสร้างกราฟิกและโปรแกรมช่วยต่าง ๆ เช่น โปรแกรมวิเคราะห์โครงสร้าง เช่น โปรแกรม FINITE ELEMENT ANALYSIS ซึÉ งเราอาจเรียกส่วนนีว่า คอมพิวเตอร์ช่วยในงานวิศวกรรม (COMPUTER AIDED ENGINEERING)

การนำ CAD software ไปใช้ประโยชน์
สร้างแบบจำลองหรือ model ขึ้นตามแบบที่ได้ทำการออกแบบวิเคราะห์ ประเมินและแก้ไขข้อมูล CAD ของ Part ที่ได้ทำการออกแบบไว้เพื่อให้สามารถทำการผลิตได้จริงในการผลิตและมี function การทำงานตามแต่ละวัตถุประสงค์ของ Part นั้นๆ ใช้เป็นข้อมูลในการผลิต jig, fixture และเครื่องมืออื่นๆ สำหรับใช้ในขั้นตอนการผลิต 

การใช้ CAD ในการสร้างรูปร่างต่างๆของ Part สามารถทำได้ 3 ลักษณะ คือ ปริมาตรตัน (Solid modeling)พื้นผิว (Surface modeling) และโครงลวด (Wire frame modeling) ซึ่งแต่ละแบบจะเหมาะสมกับการทำงานเฉพาะอย่าง

CAD Software
Surface modeling
การแสดงผลแบบนี้จะคล้ายกับการนำผืนผ้าสี่เหลี่ยมซึ่งถือเป็น 1 ผิวหน้า (face) มาเย็บต่อ ๆ กัน จะได้เป็นพื้นผิว (surface) บาง คล้ายเปลือกนอก การเก็บข้อมูลแบบนี้จะเก็บข้อมูล เส้นขอบ พิกัดของจุด และข้อมูลของขอบผิวที่ติดกัน

นอกจากการใช้ CAD ในการสร้าง Part แล้วในปัจจุบัน CAD software บางตัวยังสามารถใช้ในงานวิศวกรรมย้อนกลับ (Reverse engineering) โดยคุณภาพของพื้นผิวที่สร้างขึ้นมาจากซอฟต์แวร์วิศวกรรมย้อนกลับส่วนมากขึ้น อยู่กับ 2 องค์ประกอบ คือ คุณภาพของ modeling หรือ Part ที่นำมาสแกน และคุณภาพของข้อมูลเชิงตัวเลข บางครั้งในการทำงานจริงเราไม่สามารถได้แบบจำลองที่สมบูรณ์เนื่องจากชิ้นส่วน ชำรุด หรือคุณภาพของข้อมูลเชิงตัวเลขที่ได้มาอาจไม่ดี software บางตัวสามารถแก้ไขปัญหาพื้นผิวของแบบจำลองในบริเวณที่ชำรุดได้ หรืออาจแต่งเติมดัดแปลงให้ดีกว่าของเดิมที่สแกนมาได้


ระบบคอมพิวเตอร์ แคด-แคม

                   ด้วยการพัฒนาของระบบคอมพิวเตอร์กราฟฟิก ทำให้คอมพิวเตอร์สามารถสร้างภาพจำลองของผลิตภัณฑ์ต่างๆขึ้นบนจอภาพได้อย่างมีประสิทธิภาพ  ทางด้านวิศวกรรมก็ได้พัฒนาระบบ แคด CAD ) ซึ่งมาจาก Computer AidDesign หมายถึงการนำระบบคอมพิวเตอร์มาช่วยเขียนแบบออกแบบอัตโนมัติ โดยอาศัยพื้นฐานของคอมพิวเตอร์กราฟฟิก และ ต่อมาได้พัฒนาใช้คอมพิวเตอร์ควบคุมเครื่องจักรกลการผลิต ( CNC ) เรียกระบบนี้ว่า แคม CAM )Computer Aid Manufacturing และ เนื่องจากระบบ แคม ต้องอาศัยข้อมูลจากระบบ แคด ดังนั้น แคด และ แคม จึงมักจะใช้งานอยู่ร่วมกัน และเรียกเทคโนโลยีนี้ว่า เทคโนโลยีแคด/แคม  CAD/CAM นี้เอง ที่ถือว่าเป็นพื้นฐานของการประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ในงานอุตสาหกรรม

ภาพที่ 1.2  ระบบแคด และระบบแคม
ที่มา  :  http://www.janye.com.tw/images/e1.jpg

   การใช้ระบบ แคด-แคมให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด จำเป็นต้องติดตั้งระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เพื่อให้ ทั้งระบบแคด และ ระบบแคม สามารถส่งข้อมูลถึงกันได้เนื่องจาก ข้อมูลของแคดเป็นข้อมูลกราฟฟิกที่จำลองชิ้นงานอุตสาหกรรม เช่น ลักษณะรูปร่าง ขนาด ส่วนระบบแคม จะนำข้อมูลแคดไปแปลงเป็นข้อมูลตัวเลข  ( NC MachineCode ) เพื่อใช้ควบคุมเครื่องจักรกลการผลิต ( NC Machine ) ซึ่งจะเห็นได้ว่า ทั้งสองระบบใช้ข้อมูลร่วมกันดังภาพข้างล่าง ภาพหน้าจอ CAD แสดงให้เห็นถึงการใช้เครื่องมือแคดออกแบบ และ สร้างแบบจำลองของชิ้นงานขึ้นบนหน้าจอ ทำการวิเคราะห์ปรับเปลี่ยนจนได้ชิ้นงานตรงตามที่ต้องการผลิต จากนั้นจึงสั่งให้ระบบ CAM นำข้อมูลแคดมาเปลี่ยนเป็นข้อมูลตัวเลข สำหรับใช้สั่ง ควบคุมเครื่องตัดใสเจาะกลึงอัตโนมัติ ( NC Machine ) ดังภาพที่ 1.2 ด้านซ้ายมือ



4.การนำข้อมูลจากระบบอินเทอร์เน็ตมาใช้ในงานอุตสาหกรรม

          การนำาเอาเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตมาใช้ในงานอุ ตสาหกรรมเพื่อช่วยในการเพ่ิม
ประสิทธิภาพการท างานและลดต้นทุนการผลิตเพ่ือพฒั นางานอุตสาหกรรมปัจจุบนั ผ่านทาง
อินเทอร์เน็ตในดา้นการส่งสินค้าออกโดยบริการรูปแบบใหม่ท่ีพฒั นาจากกระทรวงการคลัง และ
กรมศุลกากร เพ่ือให้เป็นอีกทางเลือกหน่ึงของผสู้่งสินคา้ออกผา่ นระบบ EDI ที่กรมศุลกากรได้
ให้บริการมาต้งัแต่ปีพ.ศ. 2543 หรื อใช้ระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในอินเตอร์เน็ตผูส่งออก
สามารถใช้ได้ตามความเหมาะสมดงัน้ี
         1. ระบบ EDI (electronics data interchange)
ในประเทศไทยใช้ระบบ EDI (electronics data interchange) มาช่วยในการแบ่งปันขอ้ มูล
ทางธุรกิจสามารถส่งและรับขอ้ มูลต่างๆ อยา่ งปลอดภยั ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ผา่ นทางวงจรเช่า
ส่วนบุคคล(private leased-line)  ในช่ือวา่ Value-Added  Networks  หรือ แวน (VANs) โดยมีการ
วิวัฒนาการด้านเทคโนโลยีในการใช้ EDI  มาช่วยในการดา  เนินธุรกิจขององค์กรต่างๆ ในการ
แลกเปล่ียนขอ้มลู และแนวโนม้ของการใชง้าน ยงัเป็นท่ีนิยมกนัอยู่ในขณะท่ีทางเลือกใหม่ในการ
ส่งผา่ นขอ้มลูผา่ นทางเว็บแอพพิเคชัน
ความหมายของ EDI 
EDI หมายถึงระบบส่งถ่ายทอดขา่ วสารขอ้ มลู จากคอมพิวเตอร์เครื่ องหนึ่ งไปยังอีกเครื่ อง
หน่ึงในรูปของสญั ญาณอิเลค็ ทรอนิกส์โดยมนุษยเ์ราเขา้ไปยงุ่ เก่ียวนอ้ยท่ีสุดขา่ วสารขอ้ มลู ท่ีEDI จะ
เป็นขา่ วสารขอ้ มลู ท่ีจดัรูปแบบและมีคุณภาพความหมาย(message standards) ที่เป็นมาตรฐาน
ตามท่ีตกลงกนัไว้(EDI, 2551)
EDI (Electronic Data Interchange) หมายถึงการใชเ้คร่ืองคอมพวิเตอร์ในการรับส่ง
เอกสารธุรกิจระหวา่ งหน่วยงานต้งัแต่2 หน่วยงานข้ึนไปท่ีมีมาตรฐานอนั เป็นท่ียอมรับร่วมกนัโดย
ผา่ นเครือขา่ ยส่ือสารเช่น สายโทรศัพท์ สัญญาณดาวเทียม เป็นต้น หรืออีกนัยหนึ่ ง คือ การใช้สื่ อ
หรือรูปแบบทางอิเลก็ ทรอนิกส์ในการแลกเปล่ียนขอ้มลู หรือเอกสารธุรกิจเช่น ใบสง่ัซ้ือสินคา้
บญั ชีราคาสินคา้ ใบส่งของ รายงาน ฯลฯ ภายใตม้าตรฐานท่ีกา หนดไว้(EDI, 2551)
EDI คือการแลกเปลี่ยนเอกสารทางธุรกิจระหวา่ งบริษทัคู่คา้ในรูปแบบมาตรฐานสากลจาก
เครื่ องคอมพิวเตอร์เครื่ องหนึ่ งไปยังเครื่ องคอมพิวเตอร์อีกเครื่ องหนึ่ ง มีสององค์ประกอบที่ส าคัญใน
ระบบ EDI คือการใช้เอกสารอิเล็กทรอนิกส์มาแทนเอกสารที่เป็นกระดาษเอกสารอิเล็กทรอนิกส์185
เหล่าน้ีตอ้งอยใู่นรูปแบบมาตรฐานสากลด้วย สองปัจจยัน้ีทุกธุรกิจสามารถแลกเปล่ียนเอกสารกนั
ไดท้ว่ัโลก(EDI, 2551)
EDI (Electronic Data Interchange)  หมายถึง การแลกเปลี่ยนข้อมูลที่มีรูปแบบมาตรฐาน
ผา่ นทางคอมพิวเคอร์ระหวา่ งองคก์ ร สา  หรับ EDI  ท่ีนา  มาใชใ้นธุรกิจ จะหมายถึงการแลกเปลี่ยน
เอกสารธุรกิจในรูปแบบมาตรฐานทางอิเลก็ ทรอนิกส์ส่ิงสา คญั ของ EDI ก็คือการส่งท่ีมีการกา หนด
มาตรฐานใช้งานร่วมกนั มาตรฐานการแลกเปล่ียนขอ้ มูลเป็นส่ิงส าคญั มาก ซ่ึงมีผลโดยตรงกบั
ความสามารถที่จะท าให้Application ขององคก์ รเช่ือมต่อกบั Application ของคู่คา้ได้ในปัจจุบันมี
มาตรฐานการแลกเปล่ียนขอ้ มูลสา  หรับกลุ่มต่างๆอยหู่ ลายมาตรฐาน การเลือกใช้มาตรฐานที่เป็น
สากลจะสามารถทา ใหส้ ามารถทา การเช่ือมตอ่ กบัคูค่ า้อ่ืนๆไดใ้นอนาคต โดยไม่ตอ้งทา การปรับปรุง
ภายหลัง ซ่ึงมาตรฐานท่ีเป็นสากลและเป็นท่ียอมรับกนั ทว่ัโลกก็คือ ANSI X 12 ใช้ในอเมริกาและ
อีกมาตรฐานคือ UN/EDIFACT ใชใ้นส่วนอ่ืน ๆ (EDI, 2551)
สรุป EDI  หมายถึง เคร่ืองมือเพ่ือธุรกิจท่ีมีประสิทธิภาพสามารถเชื่ อมโยงโดยระบบ
คอมพิวเตอร์การส่ือขา่ วสารขอ้มลู มีความรวดเร็ว มีประสิทธิภาพถูกตอ้งแม่นยา ไม่วา่ ฮาร์ดแวร์และ
ซอฟท์แวร์ปลายทาง จะเป็นแบบใด


5.ข้อมูลVideoที่เกี่ยวข้องCADในอุตสาหกรรม



video
  
 ในโรงงานอุตสาหกรรมนั้น  นอกจากจะใช้คอมพิวเตอร์ทำบัญชีต่างๆ เช่น  บัญชีเงินเดือน บัญชีลูกหนี้และบัญชีเจ้าหนี้แล้ว ก็อาจจะใช้คอมพิวเตอร์ช่วยงานของโรงงานโดยตรง เช่น การจัดส่งสินค้าตามใบสั่ง  การควบคุมวัสดุคงคลัง การจัดการผลิต และการคิดราคาต้นทุนสินค้า เป็นต้น
          ในการจัดสินค้าส่งตามใบสั่ง  (order filling) นั้น มีวัตถุประสงค์เพื่อให้สามารถจัดส่งสินค้าให้ลูกค้าโดยรวดเร็วสมมติว่าพนักงานเจาะบัตรเจาะใบสั่งสินค้าของบ่ายวันที่ผ่านมาและของเช้าวันนั้นเสร็จภายใน  ๑๒.๐๐ นาฬิกา  ระหว่างเวลาที่พนักงานหยุดพักรับประทานอาหารกลางวันคอมพิวเตอร์ก็จะพิมพ์ใบหยิบสินค้า (picking label) ให้ เมื่อพนักงานคลังสินค้ากลับเข้าทำงานเวลา ๑๓.๐๐ นาฬิกา  ก็เริ่มจัดสินค้าลงหีบห่อได้ทันทีภายใน ๑๗.๐๐ นาฬิกา  ของวันนั้นส่วนตอนเช้า พนักงานคลังสินค้าก็จะได้มีเวลาตรวจสินค้าคงคลังและจัดสินค้าที่มาใหม่
           นอกจากพิมพ์ใบหยิบสินค้าแล้ว คอมพิวเตอร์จะพิมพ์ใบจัดสินค้าเข้าหีบห่อ (packing  slips) จัดปรับปรุงแก้ไขแฟ้มข้อมูลวัสดุคงคลัง  และจัดรายการสำหรับทำใบส่งของ
           
ถ้าสินค้าไม่พอ  คอมพิวเตอร์ก็จะทราบ เพราะมีแฟ้มข้อมูลวัสดุคงคลังอยู่ คอมพิวเตอร์จะจัดสั่งสินค้าที่ขาดให้ เพื่อจัดส่งในวันต่อๆ ไป
           คอมพิวเตอร์อาจจะทำรายงานต่างๆ ให้ด้วย เช่น จำนวนลูกค้าที่สั่งสินค้าแต่ละชนิด  จำนวนชิ้นสินค้าที่สั่งโดยเฉลี่ย และเนื้อที่หรือปริมาตรที่ต้องใช้ในการเก็บสินค้า
           เมื่อส่งสินค้าได้เร็วขึ้นก็มีทางเก็บเงินได้เร็วขึ้น มีทางขายสินค้าได้มากขึ้น และเสียค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษาสินค้าน้อยลง
           นอกจากจะใช้คอมพิวเตอร์ช่วยจัดสั่งสินค้าแล้ว ก็อาจใช้คอมพิวเตอร์ช่วยงานสินค้าคงคลัง ซึ่งจะเห็นผลได้
ชัดเจนทั้งทางด้านความต้องการเงินสดและด้านกำไร  หลักสำคัญก็คือ จัดสั่งสินค้าจากผู้ผลิตให้มีมากพอขายแต่ไม่ให้มากเกินไป ถ้ามีสินค้าไม่พอขายก็ขาดกำไรจากสินค้าที่ไม่ได้ขายนั้น ถ้ามีสินค้ามากเกินไปขายไม่หมด  ก็เสียค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษา และเสียผลประโยชน์ที่จะได้จากการเอาเงินไปใช้หมุนเวียนทางอื่น
           ข้อมูลที่สำคัญในการควบคุมวัสดุคงคลัง คือ แฟ้มข้อมูลหลัก ซึ่งอาจจะได้มาจากระบบจัดสั่งสินค้าหรือสร้างขึ้นโดยเฉพาะเพื่อทำงานด้านวัสดุคงคลัง อย่างไรก็ตามแฟ้มข้อมูลหลักจะระบุความต้องการของสินค้าทุกชนิดในอดีตและการเคลื่อนไหวของสินค้าเหล่านั้นในปัจจุบัน
           การใช้ประวัติความต้องการสินค้ามาทำนายความต้องการในเดือนต่อๆ ไป มีสูตรและวิธีทำนายหลายประเภทวิธีทำนายต่างๆ นี้มีผลต่างกัน ฉะนั้น  พนักงานจัดซื้อจะต้องพิจารณาการทำนายแบบต่างๆ นี้โดยถี่ถ้วน จะต้องพิจารณาผลที่ได้จากการลงทุน ความยากง่ายและปลอดภัย
ในการเก็บสินค้า เวลาที่ต้องรอตั้งแต่เริ่มสั่งจนได้รับสินค้าคอมพิวเตอร์จะใช้ข้อมูลต่างๆ เหล่านี้ไปคิดว่าเมื่อใดควรจะสั่งสินค้าชนิดใดเท่าใด
           นอกจากประวัติความต้องการสินค้าแล้ว คอมพิวเตอร์จะคำนึงถึงข้อมูลภายนอก เช่น สภาวะเศรษฐกิจทั่วๆ ไปและกรณีพิเศษต่างๆ ด้วย  เป็นต้น
          พนักงานคลังสินค้าควรจะตรวจสอบสินค้าที่มีอยู่จริงว่า ตรงกับบัญชีของคอมพิวเตอร์หรือไม่ ถ้ามีความแตกต่างกันเล็กน้อยก็อาจจะปรับบัญชีของคอมพิวเตอร์ให้ตรงกับของจริงเป็นครั้งคราว แต่ถ้าแตกต่างกันมากก็จะต้องสืบหาเหตุผล
          ถ้าใช้คอมพิวเตอร์ควบคุมวัสดุคงคลังแล้ว ก็อาจใช้ชุดคำสั่งเดียวกันนั้น ช่วยในการจัดซื้อได้ด้วย  อย่างไรก็ตาม ผู้บริหารควรตรวจดูจำนวนและชนิดสินค้าที่คอมพิวเตอร์เสนอให้ซื้อและเปลี่ยนแปลงแก้ไขบ้างตามสภาวะเศรษฐกิจและสภาวะธุรกิจที่ผู้บริหารทราบดีกว่าคอมพิวเตอร์  ถ้าผู้บริหารเปลี่ยนแปลงแก้ไขรายการสั่งซื้อก็ควรแก้รายการในคอมพิวเตอร์ให้ตรงกันด้วย
จากนั้นคอมพิวเตอร์ก็อาจพิมพ์จดหมายสั่งซื้อสินค้าและจัดทำแฟ้มสั่งสินค้า เมื่อสินค้าที่สั่งมาถึงคลัง พนักงานรับสินค้าจะต้องตรวจของว่าถูกต้องตามที่สั่งหรือไม่ แล้วแจ้งให้คอมพิวเตอร์ทราบเพื่อจัดแฟ้มรับสินค้า และหักบัญชีจากแฟ้มสั่งสินค้าพร้อมทั้งพิมพ์รายงานว่าสินค้าชนิดใดได้รับแล้วชนิดใดยังไม่ได้รับ  ชนิดใดสั่งไปนานเท่าใดแล้ว ปกติควรจะใช้เวลาเท่าใด   รายงานนี้อาจนำมาใช้จัดลำดับผู้ผลิตว่าบริษัทผู้ผลิตใดบริการดีหรือไม่ดีอย่างไร เพื่อจะได้เลือกสั่งสินค้าจากผู้ผลิตที่บริการดีในภายหลัง
          นอกจากสินค้าที่สั่งจากผู้ผลิตภายนอกแล้ว บางบริษัทอาจผลิตสินค้าบางอย่างขึ้นเอง หรือนำสินค้าที่สั่งจากภายนอกมาบรรจุขวดหรือกล่องที่มีขนาดเล็กลง การผลิตสินค้านี้อาจแบ่งเป็น ๒ แบบ  คือ ผลิตตามที่ลูกค้าสั่ง(manufacture-to-order) และผลิตเข้าคลัง (manufacture-to-stock) ในการนี้เราอาจใช้คอมพิวเตอร์ช่วยจัดวาระการผลิตสินค้า เพื่อให้ผลิตสินค้าได้ทันตามกำหนดเวลาที่ตกลงไว้กับลูกค้า หรือให้มีพอขายจากคลัง
          คอมพิวเตอร์อาจต้องออกกำหนดการผลิต ระบุว่าจะต้องผลิตอะไร เมื่อใด ก่อนหรือหลังสิ่งใด ถ้าไม่ใช้คอมพิวเตอร์ก็อาจทำกำหนดการผลิตได้  แต่จะเสียเวลามากและอาจไม่ได้ผลดีเท่าที่ควร คอมพิวเตอร์จะแปลความต้องการสินค้าเป็นความต้องการทางด้านงานต่างๆ ว่า สินค้าใดจะต้องผลิตเป็นจังหวะอย่างไร   แยกเป็นงานย่อยอย่างไรจะแบ่งพนักงานออกทำงานทางใดเมื่อใด เมื่องานใดเสร็จคอมพิวเตอร์ก็จะจัดการปรับกำหนดต่างๆ ให้สอดคล้องกันด้วย
          
การใช้คอมพิวเตอร์จะช่วยให้ประสิทธิภาพของโรงงานดีขึ้น เช่น แทนที่จะทำงานที่ ๑  ตามด้วยงานที่ ๒ งานที่ ๓  เรื่อยๆ ไปตามใบสั่ง คอมพิวเตอร์อาจจะช่วยวิเคราะห์ก่อนว่างานที่ ๑  กับที่ ๓  และที่ ๕  เป็นงานแบบเดียวกันควรจัดกำหนดการทำติดต่อกันไปให้เสร็จ แล้วจึงค่อยทำงานที่๒ และที่ ๔  ซึ่งทำให้เสียเวลาปรับเครื่องน้อยลง ดังนี้เป็นต้น เมื่อประสิทธิภาพในการทำงานดีขึ้น ราคาค่าผลิตก็จะต่ำลง เป็นประโยชน์ทั้งด้านผู้ผลิต ผู้ขาย และผู้ซื้อ
         จ
ากการใช้คอมพิวเตอร์จัดวาระการผลิตสินค้า  และจากบัตรลงเวลาที่ใช้ในการทำบัญชีเงินเดือน เราอาจให้คอมพิวเตอร์ช่วยวิเคราะห์ต่อไปอีกขั้นหนึ่งว่าพนักงานผู้ใดทำงานชนิดใดได้ผลดี ทำงานชนิดใดได้ผลไม่ดี เพื่อเก็บข้อมูลเหล่านี้ไว้ใช้ในการจัดให้ผู้ใดทำงานอะไรอย่างไรต่อไป
         
นอกจากนี้  ยังอาจให้ตีราคางานที่กำลังทำอยู่และที่ทำเสร็จไปแล้ว การตีราคางานที่กำลังทำอยู่นั้น อาจจะใช้เป็นประโยชน์ในการแก้ไขเปลี่ยนแปลงงานที่ยังเหลือ เช่น สินค้าชนิดหนึ่งมีผู้สั่งจำนวนมากในราคาหนึ่ง เมื่อทำไปได้เพียงครึ่งเดียว ปรากฏว่าค่าแรงค่าวัสดุสูงกว่าที่คาดไว้มากฝ่ายบริหารก็จะได้พิจารณาว่ามีทางเปลี่ยนแปลงแก้ไขเพื่อลดค่าใช้จ่ายของส่วนที่ยังเหลือได้หรือไม่ ถ้าทำไม่ได้ก็จะได้รีบขึ้นราคาสินค้าชนิดนั้นก่อนที่จะมีผู้สั่งเพิ่มเติม การตีราคางานที่เสร็จแล้วนั้น  อาจจะนำมาใช้วัดสมรรถภาพของหน่วยงานต่างๆ ได้ด้วย
         ผลการใช้คอมพิวเตอร์จัดบุคลากรและตีราคางานนี้จะช่วยให้บริษัทควบคุมค่าใช้จ่ายได้อย่างใกล้ชิด และช่วยในการพิจารณาการตัดรายจ่ายว่าควรตัดทางด้านใดอย่างไร
         การใช้คอมพิวเตอร์ในโรงงานอุตสาหกรรมนี้ รวมถึงการใช้หุ่นยนต์อุตสาหกรรมด้วย