วันพุธที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2555

Programmable logic controller



                                          โครงสร้างภายในของ   Programmable logic controller


                                                                             รูปที่ 1.1


          Programmable Logic Controller เครื่องควบคุมเชิงตรรกที่สามารถโปรแกรมได้          PLC : Programmable Logic Controller (มีต้นกำ เนิดจากประเทศสหรัฐอเมริกา) เป็นเครื่อง    
          ควบคุมอัตโนมัติในโรงงานอุตสาหกรรม

          ที่สามารถจะโปรแกรมได้ ถูกสร้างและพัฒนาขึ้นมาเพื่อทดแทนวงจรรีเลย์ อันเนื่องมาจากความต้องการที่อยากจะได้เครื่องควบ คุมที่มีราคาถูกสามารถใช้งานได้อย่างเอนกประสงค์ และสามารถเรียนรู้การใช้งานได้ง่าย
        ข้อแตกต่างระหว่าง PLC กับ COMPUTER
1. PLC ถูกออกแบบ และสร้างขึ้นเพื่อให้ทนต่อสภาพแวดล้อมในโรงงานอุตสาหกรรมโดยเฉพาะ
2. การโปรแกรมและการใช้งาน PLC ทำได้ง่ายไม่ยุ่งยากเหมือนคอมพิวเตอร์ทั่วไป PLC มีระบบการตรวจสอบตัวเองตั้งแต่ช่วงติดตั้ง
    จนถึงช่วงการใช้งานทำให้การบำรุงรักษาทำได้ง่าย
3. PLCถูกพัฒนาให้มีความสามารถในการตัดสินใจสูงขึ้นเรื่อยๆทำให้การใช้งานสะดวกขณะที่วิธีใช้คอมพิวเตอร์ยุ่งยากและซับซ้อนขึ้น

                                   โครงสร้างภายนอกของ  Programmable logic controller



รูปที่ 1.2

 ถ้ากล่าวถึงการใช้งานไมโครคอนโทรลเลอร์เพื่อใช้งานจริงแล้ว แทบทุกคนจะประสบกับปัญหาการใช้งาน ไม่รู้ว่าจะใช้คำสั่งใดดี ถึงจะทำให้ได้ผลลัพธ์เป็นดังเราต้องการ เพราะไม่ว่าจะใช้ภาษาแอสเซมบี้ หรือภาษาที่สูงมาอีกระดับ เช่นภาษาซี หรือภาษาปาสคาล หรือภาษาเบสิก ก็ตาม ก็ยังสร้างงานด้วยความยุ่งยากอยู่ดี และยิ่งในงานควบคุมอุตสาหกรรม ความรวดเร็วในการใช้งาน แก้ไข ตรวจสอบ ยิ่งเป็นสิ่งจำเป็น 
 ด้วยข้อยุ่งยากในการใช้งานภาษาข้างต้น จึงเกิดความคิดว่า น่าจะมีภาษาอะไรก็ได้ที่ง่ายต่อการใช้งาน ทำให้เกิดภาษาหนึ่งขึ้นมา นั่นก็คือภาษาแลดเดอร์ (Ladder) โดยภาษาแลดเดอร์นั้น ขั้นต้นจะเลียนแบบวงจรซีเคว้นของรีเลย์ ทำให้ไดอะแกรมของแลดเดอร์เขียนตามไดอะแกรมของวงจรรีเลย์ไปด้วย และทางด้านฮาร์ดแวร์ก็ออกแบบให้มีความทนทาน ต่อสัญญานรบกวนต่างๆ และเป็นโมดูลที่สะดวกต่อการใช้งานยิ่งขึ้น โดยใช้ชื่อว่า PLC(Programmable Logic Controller)  ในเมืองไทยมีการใช้งานPLC มานานพอสมควร เิริ่มแรกก็ติดมากับเครื่องจักรที่สั่งมาจากต่างประเทศ ระยะหลังจึงค่อยๆแพร่หลายมากยิ่งขึ้น เนื่องจากใช้งานง่ายและสะดวกในการแก้ไขวงจร ไม่ต้องแก้ไขวงจรทางฮาร์ดแวร์มากนัก หรือบางครั้งไม่ต้องแก้ไขเลย  แต่อย่างไรก็ตาม PLC ยังเป็นเครื่องมือที่มีราคาสูงอยู่พอสมควร ทำให้ไม่สะดวกในการหามาเรียนรู้ หรือเรียนรู้ได้แต่ในการไปประยุกต์ใช้งานจริงอาจทำไม่ได้ เนื่องจากอาจมีราคาแพงไปสำหรับงานบางงาน และนี้จึงถือกำเนิด PLC nurotec seri N สายพันธ์ไทย คุณภาพระดับโลก แต่ราคาไม่แพง จะใช้เพื่อฝึกเขียนโปรแกรมหรือใช้งานจริงก็ได้





คุณสมบัติ
      1.  มีอินพุต 16 ตัว
2. มีเอ้าพุตแบบรีเลย์ 8ตัว หน้าคอนแทค10 A.
 3. Supply มี2รุ่น คือใช้ไฟ 12 Vdc และ 24 Vdc
      4. จอแสดงผลมีไฟมองในที่มืดได้
      5  .มี 3โหมด คือ PROGRAM , RUN , MONITOR
         ในโหมด
MONITOR สามารถดูค่าสถานะต่างๆ
      6. มีฟังชั่นทดสอบการทำงานของรีเลย์เอ้าพุต
      7.บอร์ดขนาด 13.1 x 11.4 cm


ส่วนฮาร์ดแวร์

ส่วนประกอบของ PLC ก็คล้ายกับไมโครคอมพิวเตอร์ย่อส่วนนั่นเอง คือมีคีย์บอร์ด จอแสดงผล หน่วยประมวลผล หน่วยความจำ ภาคติดต่ออินพุตและภาคติดต่อเอ้าพุต










โปรแกรมแลดเดอร์

      ภาษาแลดเดอร์เป็นภาษาเชิงรูปภาพ ประกอบไปด้วย แลดเดอร์ไดอะแกรมเพื่อไว้ดู และคำสั่งแลดเดอร์เพื่อไว้สั่งงาน ถูกออกแบบมาเพื่อให้ง่ายต่อการใช้งาน แต่เดิมนั้นออกแบบมาแทนวงจรรีเลย์ ดังนั้นแลดเดอไดอะแกรมจะอ้างอิงวงจรซีเคว้นของรีเลย์เป็นส่วนใหญ่ ต่อมามีการพัฒนาฟังชั่นให้สะดวกแ่ก่การใช้งานมากขึ้น แต่จะเป็น PLC ในรุ่นที่สูงๆ แต่ในการใช้งานจริงนั้น ถ้าไม่ซับซ้อนจนเกินไป ฟังชั่นพื้นฐานก็เพียงพอต่อการใช้งาน ซึ่งฟังชั่นพื้นฐานดังนี้
1.LD
เป็นการรับค่าเบื้องต้นของบล็อก
2.OR
การ or หรือ การต่อแบบขนาน
3.AND
การ and หรือ การต่อแบบอนุกรม
4.NOT
การ not หรือ การกลับค่า
5.OUT
เอ้าพุตแบบรีเลย์
6.TIM
เอ้าพุตแบบไทเมอร์หรือตัวจับเวลา
7.CNT
เอ้าพุตแบบเค้าเตอร์หรือตัวนับ
8.KEEP
เอ้าพุตแบบรีเลย์แบบมีแลตช์หรือค้างสถานะ
9.END
คำสั่งจบโปรแกรม



      ภาษาแลดเดอร์เป็นภาษาเชิงรูปภาพ ประกอบไปด้วย แลดเดอร์ไดอะแกรมเพื่อไว้ดู และคำสั่งแลดเดอร์เพื่อไว้สั่งงาน ถูกออกแบบมาเพื่อให้ง่ายต่อการใช้งาน แต่เดิมนั้นออกแบบมาแทนวงจรรีเลย์ ดังนั้นแลดเดอไดอะแกรมจะอ้างอิงวงจรซีเคว้นของรีเลย์เป็นส่วนใหญ่ ต่อมามีการพัฒนาฟังชั่นให้สะดวกแ่ก่การใช้งานมากขึ้น แต่จะเป็น PLC ในรุ่นที่สูงๆ แต่ในการใช้งานจริงนั้น ถ้าไม่ซับซ้อนจนเกินไป ฟังชั่นพื้นฐานก็เพียงพอต่อการใช้งาน ซึ่งฟังชั่นพื้นฐานดังนี้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น